เจริญทอง รับติดตั้ง หลังคากันสาดอลูมิเนียมเชิงระเบียง

อลูมิเนียม เป็นโลหะที่สำคัญ ได้รับการใช้งานมากที่สุด

อลูมิเนียม
เป็นโลหะที่สำคัญ ได้รับการใช้งานมากที่สุด ในกลุ่มโลหะที่มีน้ำหนักเบา (Light Metals) ทั้งนี้เพราะ อลูมิเนียมมีคุณสมบัติที่ดีเด่นหลายประการ

1. มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา และมีกำลังวัสดุต่อน้ำหนักสูง จึงนิยมใช้ทำเครื่องใช้ไม้สอย ตลอดจนชิ้นส่วนบางอย่างในเครื่องบิน จรวด ขีปนาวุธ และอุปกรณ์ในรถยนต์ เพื่อลดน้ำหนักของรถให้น้อยลง จะได้ประหยัดเชื้อเพลิงตลอดจนชิ้นส่วนอากาศยาน
2. มีความเหนียวมาก สามารถขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่างๆ ได้ง่าย และรุนแรง โดยไม่เสี่ยงต่อการแตกหัก
3. จุดหลอมเหลวต่ำ หล่อหลอมง่าย และมีอัตราการไหลตัวสูง
4. ค่าการนำไฟฟ้า คิดเป็น 64.94 % IACS (Internation Association of Classification Societies) ซึ่งไม่สูงนัก แต่เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ดังนั้นจึงใช้เป็น ตัวนำไฟฟ้า ในกรณีที่คำนึงถึง เรื่องน้ำหนักเป็นสำคัญ
5. เป็นโลหะที่ไม่มีพิษต่อร่างกาย และไม่มีค่าการนำความร้อนสูง ใช้ทำภาชนะหุงต้มอาหาร และห่อรองรับอาหาร
6. ผิวหน้าของ อลูมิเนียมบริสุทธิ์ มีดัชนีการสะท้อนแสงสูงมาก จึงใช้ทำแผ่นสะท้อน ในแฟลชถ่ายรูป, จานสะท้อนแสงในโคมไฟ และไฟหน้ารถยนต์
7. ทนทานต่อการเกิดเป็นสนิม และการผุกร่อน ในบรรยากาศที่ใช้งานโดยทั่วไปได้ดีมาก แต่ไม่ทนทาน ต่อการกัดกร่อนของกรดแก่ และด่างทั่ว ๆ ไป
8. ซื้อหาได้ง่าย ในท้องตลาด และราคาไม่แพงนัก
9. ใช้ในการตกแต่ง ในงานเฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนใช้เป็น อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน
10. เป็นโลหะที่ยังมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

คุณสมบัติทางเคมี (Chemical Properties)
1. ออกซิเจน เมื่ออลูมิเนียม ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน จะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบาง ๆ เรียกว่าอลูมิเนียมออกไซด์ อยู่ที่ชั้นผิวของอลูมิเนียม ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยาต่อไป

2. ไนโตรเจน เมื่ออลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนจะทำให้เกิดไนไตรด์ที่อุณหภูมิสูง
3. กำมะถัน เมื่ออลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับกำมะถันจะไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น
4. ไฮโดรเจน เมื่ออลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจน ละลายแทรกซึม เข้าในอลูมิเนียมได้และในการหล่ออลูมิเนียมถือ ว่าไฮโดรเจนเป็นก๊าซ ที่จะต้องกำจัดออก ให้หมดมากที่สุด
5. กรดอนินทรีย์ (เข้มข้น) เมื่อเกิดปฏิกิริยากับกรดอนินทรีย์ ซึ่งอลูมิเนียมสามารถทนได้บ้าง
6. กรดอนินทรีย์ (เจือจาง) เมื่อเกิดปฏิกิริยากับกรดอนินทรีย์เจือจาง ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาทันที
7. ด่าง เมื่อเกิดปฏิกิริยากับด่าง ซึ่งสามารถละลายอลูมิเนียมได้
8. เกลือ เมื่อเกิดปฏิกิริยากับเกลือ ซึ่งสามารถกัดกร่อนอลูมิเนียมได้
9. กรดอินทรีย์ เมื่อเกิดปฏิกิริยากับกรดอินทรีย์ ซึ่งสามารถละลายในอลูมิเนียมได้ทันที (ยกเว้นกรดน้ำส้ม)
10. กรดอินทรีย์ + น้ำ เมื่อเกิดปฏิกิริยากับกรดอินทรีย์ + น้ำ ซึ่งไม่เกิดปฏิกิริยากับอลูมิเนียม
11. ฮาโลเจน เมื่อเกิดปฏิกิริยากับฮาโลเจน ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาทันที

แหล่งที่มาข้อมูล : http://www.akesteel.com/index.php?